Daily Mirror

สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า

ป่าไม้กับการอยู่รอดและอยู่ร่วม

เป็นที่ทราบกันดีว่าป่าไม้เป็นที่รองรับน้ำฝนด้วยการอุ้มน้ำไว้ใต้ดิน ป่าจึงเป็นต้นกำเนิดสายน้ำหลายหมื่นแสนแขนงกระทั่งกลายเป็นลำธาร ซึ่งสุดท้ายหลอมรวมเป็นแม่น้ำสายใหญ่รินไหลหล่อเลี้ยงผู้คนทั้งประเทศ ให้ประโยชน์ทั้งในแง่การบริโภคและคมนาคม

เป็นที่ทราบกันดีว่าป่าไม้เป็นที่รองรับน้ำฝนด้วยการอุ้มน้ำไว้ใต้ดิน ป่าจึงเป็นต้นกำเนิดสายน้ำหลายหมื่นแสนแขนงกระทั่งกลายเป็นลำธาร ซึ่งสุดท้ายหลอมรวมเป็นแม่น้ำสายใหญ่รินไหลหล่อเลี้ยงผู้คนทั้งประเทศ ให้ประโยชน์ทั้งในแง่การบริโภคและคมนาคม
.
แต่มีสิ่งที่คนไทยเหมือนไม่รู้อยู่อย่างหนึ่ง คือป่าไม้เหลือไม่ถึง 25 % ของพื้นที่ทั้งหมด เรื่องนี้บางคนรู้ บางคนไม่รู้ บางคนสนใจ บางคนมองว่าไม่ใช่เรื่อง กรณีนี้ลองถามเด็กรุ่นใหม่ใกล้ๆ ตัวก็ได้ว่ารู้หรือไม่ว่าป่าไม้ไทยเหลืออยู่เท่าไหร่ รู้หรือไม่ว่าเราดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยป่าไม้ไม่ใช่ไฟฟ้าหรือโลกอินเตอร์เน็ต คำถามแรกไม่รู้ไม่เป็นไรเพราะเป็นข้อมูลทางตัวเลข แต่คำถามหลังถ้าไม่รู้ต้องหันกลับมาพิจารณาองค์ความรู้กันยกใหญ่ ยกใหญ่ในที่นี้หมายถึงการให้ความรู้ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงสถาบันการศึกษาในทุกระดับชั้น
.
สิ่งที่พูดไปในเบื้องต้นเชื่อว่าเยาวชนรู้แต่ไม่ลึก คือรู้อย่างไรก็อย่างนั้นไม่มีพัฒนาการหรือไม่มีโอกาสนำความรู้ไปสานต่อหรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้มีการเดินเท้าต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงศ์ (เขื่อนที่ไม่ควรสร้างด้วยประการทั้งปวง) ในกรณีนี้ได้พูดคุยและซักถามเด็กบางกลุ่มที่ร่วมเดิน พบว่าบางคนรู้ลึก บางคนรู้บ้าง บางคนไม่รู้เลย และบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไฟที่เขาใช้มาจากเขื่อน และเขื่อนมาจากการฆาตกรรมป่า
.
ปัจจุบันมีการรุกป่ามาในหลายรูปแบบ ที่เห็นและเป็นข่าวคือการสร้างรีสอร์ตในเขตอุทยานแห่งชาติ แต่ที่ไม่ค่อยเป็นข่าวคือการรุกล้ำทำเกษตรกรรม ที่เห็นได้ชัดซึ่งรุกป่ากันมานานกระทั่งเห็นเป็นเรื่องปกติคือภูเขากะหล่ำปลีที่ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์ พืนที่ปลูกผักในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก น่าน และในทุกจังหวัดที่มีป่าสงวน
.
เป็นไปได้ไงจู่ภูเขาที่เต็มไปด้วยต้นไม้กลายเป็นแปลงปลูกผัก กลายเป็นทุ่งปลูกข้าว ต้นไม้นะครับไม่ใช่ไม้จิ้มฟัน หายไปเป็นร้อยไร่พันไร่ยังนิ่งเฉยกันอยู่ได้ ซ้ำร้ายยังส่งเสริมกันเข้าไปอีก นอกจากต้นไม้หายไปหายนะอีกอย่างที่ติดตามมาคือการ
.
น้ำที่นำมาราดรดกะหล่ำปลีเป็นน้ำที่สะสมสารพิษจากยาฆ่าแมลง ชะพิษจากยาลงไปสู่ดิน จากดินซึมลงไปสู่แหล่งน้ำ แล้วนำน้ำกลับมารดกะหล่ำปลี ซ้ำๆ อยู่อย่างนี้ตลอดปีตลอดชาติ กลายเป็นดินพิษ น้ำพิษ กะหล่ำพิษ สุดท้ายส่งผักปนเปื้อนพิษมาให้เราบริโภค เจริญใจจริงๆ ประเด็นการรุกล้ำป่าสงวนต้องติติงภาครัฐในทุกๆ รัฐบาลที่ปล่อยปละละเลยให้ป่าไม้เลือนหายไป (อย่างมีร่องรอย)
.
ถ้าที่นา สวน ไร่ มีแต่เดิมอยู่แล้วไม่ว่ากัน แต่เมื่อมีการรุกล้ำทำไมนิ่งเฉย รีอสร์ตจับดำเนินคดีได้ พื้นที่รุกล้ำทางการเกษตรก็ควรจัดการได้ ป่าไม้ปลูกไม่ง่ายแต่ปลูกได้ อย่างแรกต้องเพาะต้นกล้าในหัวใจเสียก่อน ต่อไปก็ง่าย เด็กปลูกได้ผู้ใหญ่ปลูกดี ดีกว่าปลูกกะหล่ำอัปรีย์ที่ก่อเกิดมลพิษต่อน้ำต่อดินต่อที่ทำกินต่อผู้บริโภค
.
วันนี้ป่าไม้ถูกรุกล้ำทุกที่ในทุกจังหวัด วันดีคืนดีป่าดีๆ กลายเป็นแปลงผัก ทุ่งข้าว ยังไงฝากภาครัฐช่วยจัดการหน่อย ป่ารอดไม่รอดอยู่ที่ชุมชนรอบๆ ป่า รวมถึงตัวท่าน เข้มแข็งเพื่อขัดขืน ลุกขึ้นยืนเพื่อผืนแผ่นดิน ทำไม่ยากหรอกครับถ้าจะทำ โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างกรมกองและข้าราชการที่มีส่วนรับผิดชอบโดยตรง คงไม่ต้องบอกนะครับว่ากรมกองไหน