Daily Mirror
สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า
Daily Mirror
สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า
หลังโควิดซา คงไม่มีอะไรที่จะอินเทรนด์ไปมากกว่าการได้ไปนั่งรถไฟความเร็ว (เกือบ) สูงลาว-จีน ปู้น ปู้น ปู้น ไปเบิ่ง ไปทำตัวชิคชิคที่หลวงพระบางอีกแล้ว ทริป Train to LAUNG PRABANG ครั้งนี้ เกิดขึ้นได้ก็เพราะมีหนุ่มใหญ่ สปอร์ต ก.ท.ม. ที่มีชื่อว่าไลออน โสภณ สาสกุล เกิดไอเดีย อยากไปสำรวจ และอัปเดตหลวงพระบางเมืองมรดกโลก
.
หลังจากจากที่ สปป.ลาวได้เปิดประเทศ พร้อมตัดริบบิ้น ปล่อยรถไฟลาว-จีน ไปเมื่อเดือน ธ.ค. 2564 จนเกิดกระแสปังปุริเย่ เกิดปรากฏการณ์ใคร ๆ ก็ไปหลวงพระบาง แล้วหลวงพระบางโฉมใหม่หลังจากมีรถไฟความเร็ว(เกือบ)สูง จะเป็นเช่นไร มาทำความรู้จักรถไฟลาว–จีน
รถไฟลาว-จีน เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 เพื่อร่วมฉลองวันชาติครบรอบ 46 ปีของการสถาปนา สปป.ลาว โดยในช่วงแรก มีสถานีที่จะเปิดให้บริการก่อน 21 แห่ง ส่วนอีก 12 สถานี จะเปิดให้บริการในระยะถัดไป
โดยขบวนแรกใช้ชื่อขบวนว่า “ล้านช้าง” และขบวนที่สองใช้ชื่อว่า “แคนลาว”
.
รถไฟขบวน “ล้านช้าง” เป็นรถไฟ Fuxing EMU รุ่น CR200J คำว่า EMU(Electric Mutiple Unit) หมายถึงรถรางไฟฟ้าที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองโดยใช้พลังงานไฟฟ้า ไม่ต้องใช้หัวรถจักรสำหรับลากขบวนรถ ส่วน Fuxing หมายถึงรถไฟขบวนนี้ใช้เทคโนโลยีรถไฟฟูซิ่งห่าวของจีน ซึ่งเหมาะสมกับสภาพเส้นทางในลาว
“ล้านช้าง” เป็นรถไฟความเร็ว “ปานกลาง” ทำความเร็วได้ 160-210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผลิตโดยบริษัทหุ้นส่วนรถไฟซื่อฝ่ายชิงเต่าและบริษัทรถไฟต้าเลี่ยน ซึ่งทั้งสองบริษัท ขึ้นกับบริษัทรถไฟแห่งชาติจีน
ขบวน “ล้านช้าง” มี 9 ตู้ รองรับผู้โดยสารได้รวม 720 ที่นั่ง ประกอบด้วยหัวรถจักร 1 ตู้ ถัดมาเป็นตู้โดยสารชั้น 1 รองรับผู้โดยสารได้ 56 ที่นั่ง ต่อด้วยตู้เสบียง 1 ตู้ ที่เหลืออีก 6 ตู้ เป็นตู้โดยสารชั้น 2 รองรับผู้โดยสารได้ 662 ที่นั่ง และมีที่นั่งพิเศษสำหรับคนพิการอีก 2 ที่นั่ง เฉพาะตู้โดยสารกว้าง 3.10 เมตร สูง 4.43 เมตร
.
อัตราค่าโดยสารสำหรับขบวนรถรับ-ส่งผู้โดยสาร ตู้โดยสารชั้น 2 กำหนดไว้ที่ 0.3 หยวน ต่อคน ต่อ 1 กิโลเมตร หรือ 350 กีบ ต่อคน ต่อ 1 กิโลเมตรคิดเป็นเงินบาทตกประมาณ 1 บาท ต่อคน ต่อ 1 กิโลเมตร ซึ่งเมื่อรวมค่าโดยสารตั้งแต่สถานีนครหลวงเวียงจันทน์ถึงสถานีบ่อเต็น จะอยู่ที่ 140,000 กีบ หรือประมาณ 400 บาท เปรียบเทียบกับการเดินทางโดยรถยนต์ จะถูกกว่าถึง 1 เท่าตัว และใช้เวลาเดินทางสั้นกว่าถึง 20 ชั่วโมง
.
เส้นทางรถไฟลาว-จีน มีทั้งหมด 32 สถานี แต่ในปัจจุบันนี้ เปิดให้บริการด้านท่องเที่ยวแล้วทั้งหมด 6 สถานี ในฝั่งลาว นั่นคือ เฉพาะเส้นทาง “นครหลวงเวียงจันทน์ – บ่อเต็น” โดยใช้เวลาเดินทางเพียง 4 ชั่วโมง 20 นาทีเท่านั้น เทียบกับเมื่อก่อนถ้าต้องเดินทางจากเวียงจันทน์ไปบ่อเต็น (600 กม.) จะต้องเดินทางโดยรถยนต์และใช้เวลานานถึง 13 ชั่วโมงเลยทีเดียว ระยะเวลาเดินทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ ไปยังสถานีปลายทางหลักๆ ยอดนิยม ใช้ระยะเวลาเดินทาง ดังนี้
.
เวียงจันทน์ – วังเวียง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 5 นาที ราคาประมาณ 500 บาท (ตั๋วชั้น1)
.
เวียงจันทน์ – หลวงพระบาง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 50 นาที ราคาประมาณ 957 บาท (ตั๋วชั้น1)
.
เวียงจันทน์ – บ่อเต็น ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง 20 นาที ราคาประมาณ 1,618 บาท (ตั๋วชั้น1)
.
DAY 1 …Train to LAUNG PRABANG
จุดสตาร์ท เริ่มกันที่ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.หนองคาย เข้าสู่ สปป.ลาว ผ่านด่าน ต.ม. เข้าสู่นครหลวงเวียงจันทน์ ได้อย่างสะดวกโยธิน เพราะได้การจัดการอย่างมืออาชีพจากไลออน โสภณทำให้มีเวลาเหลือเฟือ จึงมีเวลาไป….
.
เที่ยวชมเมืองหลวงนครเวียงจันทน์ ไปถ่ายรูปเก๋ ๆ ที่ปะตูไซ ไฮไลท์ของนครหลวงเวียงจันทน์ และที่ขาดไม่ได้นั้นก็คือไปกราบสักการะสิงศักดิ์สิทธิ์ที่วัดสีเมือง
.
วัดสีเมือง เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของเวียงจันทน์ สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1563 รวมอายุกว่า 456 ปี โดยมีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อสร้างเสาหลักเมือง ต้องมีการหาคนอุทิศชีวิตลงหลุมฝังเสาหลักเมือง เพื่อให้เป็นผู้เฝ้าปราสาทบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรู มิให้มีโรคภัยเกิดแก่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ผู้ครองนคร แต่ถ้าไม่มีใครอุทิศเจ้าอาวาสจะต้องอุทิศชีวิตเอง แต่ได้มีนางสีเมืองซึ่งท้อง 3 เดือน ยอมอุทิศตนกระโดดลงไปอยู่ก้นหลุมเสาหลักพร้อมกับม้าอีกหนึ่งตัว
.
สำหรับสายมู ยิ่งต้องห้าพลาด ต้องมาสักการะกราบไหว้ให้ได้ เพราะวัดแห่งนี้จะโดดเด่นในเรื่องการให้โชคลาภ เงินทอง ใครที่ทำมาค้าขายจึงเหมาะที่จะมาขอพร เพราะจะช่วยเสริมดวงเรื่องเงินทองให้ร่ำรวยมากยิ่งขึ้น
(บรรยากาศสถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์)
.
หลังจากนั้นก็ได้เวลาเดินทางสู่สถานีรถไฟลาว-จีน ณ สถานีนครเวียงจันทน์ เพื่อนั่งรถไฟไปสู่จุดหมายปลายทางนั้นก็คือหลวงพระบาง รถไฟออกเวลา 15.05 น. ใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมง ซึ่งเป็น 2 ชั่วโมงที่แสนจะรื่นรมย์ด้วยธรรมชาติทิวเขาสองข้างทางสวยงาม เขียวชอุ่มร่มรื่น
.
หัวเชียงเกสต์เฮาส์ ไลออน โสภณบอกว่านี่คือที่พักที ที่สัปปายะที่สุดแล้วในการมาเที่ยวหลวงพระบาง เพราะมีทำเลอยู่กลางเมือง ใกล้แหล่งท่องเที่ยว สถานที่สำคัญในพื้นที่อย่าง พิพิธภัณฑ์พระบรมมหาราชวัง และ พระราชวังหลวง ตลาดเช้า และ Night Market และที่สำคัญคือสวยงาม และการบริการของพนักงานก็ใส่ใจลูกค้าแบบเต็มร้อย
.
หลังจากอิ่มหนำสำราญกับอาหารมื้อเย็นก็ได้เวลาไปเดินถนนคนเดิน หรือ Night Market หรือตลาดมืด ที่อยู่ข้าง ๆ ที่พัก ถนนคนเดินดูคึกคัก นักท่องเที่ยวหนาตาแล้วหน้าตาดันคุ้น ๆ จะไม่คุ้นได้ยังไง ก็เพราะว่าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวฟอร์มไทยแล้นนน ซะเกินครึ่ง
.
DAY 2 …Train to LAUNG PRABANG
.
ตื่นเช้า ๆ แล้วไปเติมพลัง พร้อมซึมซับวิถีลีลาชีวิตของความเป็นหลวงพระบางสไตล์ ที่ร้านกาแฟ ประชานิยม นี่คือร้านกาแฟที่เป็นซิกเนเจอร์ของหลวงพระบาง ใครมาหลวงพระบาง ต้องมาซึมซับความเป็นหลวงพระบางที่ร้านแห่งนี้
.
ร้านกาแฟ ประชานิยม เปิดตั้งแต่ตีสี่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงนอกจากจะมีบรรยากาศชิล ๆ สุดคลูแล้ว ยังมีเมนู หลากหลาย เช่น ขนมแป้งจี่ ปาท่องโก๋ โจ๊กใส่ไข่พะโล้ กาแฟโบราณ ไข่ลวก เฝอ และบาเก็ต ซึ่งแต่ละเมนูก็ยั่วให้น้ำลายสอ เมื่อท้องอิ่มแล้วต้องไปเดินทอดน่องส่องความเป็นหลวงพระบางสไตล์กันต่อที่
.
ตลาดเช้าหลวงพระบาง นี่คือศูนย์รวมความเป็นซิกเนเจอร์ ความชิค ความคลู ของชาวหลวงพระบางที่งดงามและทรงพลังประดุจว่าเราได้ถูกหลุมดำดูดย้อนหวนคืนสู่อดีตกาล นี่คือหนึ่งในสถานที่ ๆ ต้องขีดเส้นใต้ไว้ว่า…ต้องมา ต้องมา ต้องมา
.
หอพิพิธภัณฑ์แห่งชาติหลวงพระบาง หรือ หอคำ เดิมคือพระราชวังของเจ้ามหาชีวิตหลวงพระบาง จึงเรียกอีกชื่อว่า วังเจ้ามหาชีวิต สร้างเมื่อ พ.ศ. 2447 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ สืบทอดต่อมาถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของลาว ต่อมาปรับให้เป็นหอพิพิธภัณฑ์หลวง เมื่อ พ.ศ. 2519 โดยใช้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุและของมีค่า
.
เช่น บัลลังก์ ธรรมาสน์ เครื่องสูงและราชูปโภคของเจ้าชีวิต พระพุทธรูป และวัตถุโบราณ รวมถึงของขวัญจากต่างประเทศ
.
วัดใหม่สุวรรณภูมาราม ตั้งอยู่ข้าง ๆ หอคำ ถือเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดของหลวงพระบาง สร้างโดยเจ้าอนุรุทธและเจ้ามันธาตุราช ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชของลาวจนถึงสิ้นสมัยราชอาณาจักร
.
ภายในวัดมีพระพุทธรูป พระธาตุ หอขวาง และที่เป็นแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบาง และยังใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา นี่คือสถานที่ศักดิ์สิทธ์ของหลวงพระบางที่ห้ามพลาด มาแล้วต้องมาสักการะกราบไหว้โดยเฉพาะสายมู
.
ส่วนสายแชะนั้นต้องห้าพลาดเด็ดขาดนั่นก็คือ สิม หรือโบสถ์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่โออ่าผสมผสานหลายสกุลช่างเข้าด้วยกัน เป็นสิมแบบโอ่โถงอยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เกือบจะคล้ายกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดใหญ่ สูงโปร่ง เครื่องประกอบหลังคา มีช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์อย่างอุโบสถ์ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์
.
นอกจากนี้วัดใหม่สุวรรณภูมาราม ในอดีตนั้นเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชลาวอีกด้วย
.
จากนั้นเดินทางไป น้ำตกตาดกวางสี ว่ากันว่านี่คือน้ำตกที่สวยที่สุดในหลวงพระบาง การมาน้ำตกกวางสีนอกจากเตรียมซาร์จแบตเตอรี่กล้องถ่ายรูปให้เต็ม เคลียร์เมมโมรี่การ์ดให้ว่าง เพราะสถานที่แห่งนี้มีมุมให้ถ่ายรูปมากมากมาย แล้วยังจะผีนายแบบ ผีนางแบบพร้อมที่จะเข้าสิงร่างเพื่อนร่วมทริป ให้เราช่วยถ่ายรูปมือเป็นระวิงแล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ขอเตือนว่า ห้ามพลาดเด็ดขาด นั่นก็คือชุดที่ใส่สำหรับการเล่นน้ำ เพราะน้ำตกแห่งนี้เหมาะแก่การโดดลงไปแช่น้ำเป็นที่สุด ว่ากันว่าอุณหภูมิของน้ำตกกวางสีจะเย็น และมีสารบางอย่างที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย หายเหนื่อยเมื่อยหล้า…จึงอยากแนะนำว่าต้องพิสูจน์ ด้วยการกระโดดลงแช่น้ำดู
.
น้ำตกกวางสีตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงพระบาง ประมาณ 32 กิโลเมตร มี 4 ชั้น มีความสูงโดยรวมประมาณ 75 เมตร เป็นน้ำตกหินปูน น้ำในน้ำตกจึงมีสีเขียวมรกตสวยแปลกตา
.
เล่นน้ำตกจนตัวเปื่อย แต่ต้องออมแรงเอาไว้ เพราะเย็นนี้มีโปรแกรมดินเนอร์ ด้วยการล่องเรือชมบรรยากาศยามเย็นของหลวงพระบาง และพิเศษไปกว่านั้น ไลออน โสภณ ได้จัดหมูกระทะไป 10 ชุด ซึ่งยังไม่เคยมีเจ้าไหนทำ แต่ไลออน โสภณทำ เปิดตลาดหมูกระทะด้วยการนำเอาลงเรือเป็นรายแรก เดี๋ยวคงมีคณะอื่น ๆ ทำตามแน่นอน มากับไลออน โสภณมันต้องเหนือกว่าคนอื่น 555
.
DAY 3 …Train to LAUNG PRABANG
.
ตักบาตรข้าวเหนียว นี่คือกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวไทยต้องแหกขี้ตาตื่นมาให้ทันตักบาตรให้ได้แม้จะแฮงค์ขนาดไหนก็ต้องตื่น ๆ 555
.
คณะเรา ยึดทำเลหน้าวัดแสนสุขาราม ซึ่งเป็นทำเลที่สวยเหมาะแก่การถ่ายรูป ยามที่พระภิกษุออกเดินเยื้องย่างมารับบาตรเพื่อโปรดสัตว์ เป็นทิวแถว โดยมีวัดเป็นแบล็คกราวน์สวยงาม
.
วัดเชียงทอง เป็นวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
.
ชมความสวยงาม ของพระอุโบสถ พระวิหาร ที่ประดับกระจกสี กราบสักการะ พระประธาน และ พระม่าน พระพุทธสำคัญของวัดเชียงทอง วัดเชียงทองถือว่านี่คือซิกเนเจอร์อีกหนึ่งแห่ง ถ้ามาหลวงพระบางแล้วไม่ได้มาวัดเชียงทองก็เหมือนว่ามาไม่ถึงหลวงพระบางฉันนั้น
.
สักการะพระธาตุพูสี นี่คือกิจกรรมเอดเวนเจอร์เบา ๆ แต่ต้องใช้พลังขาหนักอยู่นะจ๊ะ ถ้าใครอ่อนรับรองมีหยอดน้ำข้าวต้ม 555 พูสีเป็นยอดเขากลางเมืองหลวงพระบาง โดยมีปลายทางอยู่พระธาตุที่ตั้งตระหง่านอยู่บนยอดเขา แต่รายทางนั้น จะมีจุดชมวิวสวย ๆ ของเมืองหลวงพระบางเป็นเครื่องบรรณาการ ความงามของสองข้างทางจะทำให้เราหายเหนื่อย
.
พระธาตุพูสี ตั้งอยู่เป็นยอดเขาคนพื้นถิ่นจะเรียกว่า พูสวง หรือ พูซวง เป็นยอดเขาที่มีความสูงราว 150 เมตร ซึ่งคำว่าพูสี มีความหมายว่า ภูเขาของพระฤาษี เดิมชื่อว่า ภูสรวง แต่เมื่อมีฤาษีไปอาศัยอยู่ชาวบ้านจึงเรียกว่าพูฤาษี หรือพูษีมาจนถึงปัจจุบัน พระธาตุนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอนุรุท ประมาณพุทธศักราช 2337 ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดของพูสี มองเห็นได้ไกลแทบทุกมุมเมืองของหลวงพระบาง
.
เมื่อแรงหมดก็ต้องมมาเติมพลังที่ ร้านปากห้วยมีไชย ซึ่งไลออน โสภณ เลือกร้านนี้ก็เพราะเป็นร้านที่มีชื่อเสียงร้านหนึ่งในหลวงพระบาง และการันตี ว่าจะไม่ผิดหวังในเรื่องรสชาติที่ถูกปากคนไทยแน่นอน
.
และแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องกล่าวคำอำลา บั่ยหลวงพระบาง เมื่อได้เวลาออกเดินทางไปสถานีรถไฟหลวงพระบาง เพื่อนเดินทางสู่นครหลวงเวียงจันทน์ รถไฟออกเวลา 13.53น. ใช้เวลา 2 ชั่งโมง ถึงนครหลวงเวียงจันทน์ในระยะเวลาสั้น ๆ ที่แสนสะดวกสบายบนเบาะนิ่ม ๆ ของเจ้าลานช้าง
.
หลังมาถึงนครหลวงเวียงจันทน์ยังไม่ทันตั้งตัว ไลออน โสภณ ก็จัดเซอร์ไพร์สอีกดอกใหญ่ บอกว่าคืนนี้จะมีงานเลี้ยงต้อนรับโดยผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ประจำ สปป.ลาว
.
นาวาอากาศเอก วสันต์ บัณฑิตศักดิ์สกุล ผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ประจำ สปป.ลาว และ คุณสิริพร บัณฑิตศักดิ์สกุล ภรรยา ได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับครอบครัว นาวาอากาศเอก กมล พิบูลรัตนสังข์ และคณะ ที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยือน ซึ่งเป็นการปิดม่านทริป Train to LAUNGPRA BANG ในครั้งนี้ลงแบบแฮปปี้เอนดิ้ง
.
ขอบคุณ
.
นาวาอากาศเอก วสันต์ บัณฑิตศักดิ์สกุล ผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ประจำ สปป.ลาว และ คุณสิริพร บัณฑิตศักดิ์สกุล ภรรยา นาวาอากาศเอก กมล พิบูลรัตนสังข์
.
อยากมีโมเมนต์ประทับใจในการไปหลวงพระบางแบบนี้ ต้องไปกับ ไลออน โสภณ สาสกุล โทร. 08 1807 0801