เปิดประตูเชียงตุง หรือเขมรัฐตุงบุรี ตอนที่ 2

เสร็จจากนั้นวันที่สองถือเป็นวันคารวะ ในวันนี้เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง จะประทับบนแท่นแก้วส่วนพวกเจ้าเมืองจากสามสิบกว่าเมืองจะ ทยอยกันเข้าไปในห้องพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียนมาวางไว้ตรงหน้าแท่น ประทับคนละขัน ปักเทียนเล่มใหญ่ มาในขันที่ทำจากเงินแท้ ตีเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางๆ เจาะรูตรงกลางประดับด้วยดอกบานไม่รู้โรยทั้งข้างบนข้างล่าง เสียบมาโดยรอบเทียนจำนวนห้าดอก หลังจากนั้นเจ้าเมืองจะ " สูมา " หรือไหว้เจ้าฟ้า เจ้าฟ้าให้พรตอบแล้วพวกช่างฟ้อนก็มาฟ้อนหางนกยูงให้พวกแขกบ้านแขกเมืองดู เป็นอันเสร็จพิธี

เสร็จจากนั้นวันที่สองถือเป็นวันคารวะ ในวันนี้เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง จะประทับบนแท่นแก้วส่วนพวกเจ้าเมืองจากสามสิบกว่าเมืองจะ ทยอยกันเข้าไปในห้องพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียนมาวางไว้ตรงหน้าแท่น  ประทับคนละขัน  ปักเทียนเล่มใหญ่  มาในขันที่ทำจากเงินแท้ ตีเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางๆ เจาะรูตรงกลางประดับด้วยดอกบานไม่รู้โรยทั้งข้างบนข้างล่าง เสียบมาโดยรอบเทียนจำนวนห้าดอก  หลังจากนั้นเจ้าเมืองจะ ” สูมา ” หรือไหว้เจ้าฟ้า เจ้าฟ้าให้พรตอบแล้วพวกช่างฟ้อนก็มาฟ้อนหางนกยูงให้พวกแขกบ้านแขกเมืองดู เป็นอันเสร็จพิธี
.
ที่ประทับของราชวงศ์เชียงตุงคือ หอคำหลวง หรือพระบรมมหาราชวัง เนื้อที่ของหอคำหลวงกว้างประมาณสิบกว่าไร่    เป็นตึกสามชั้นแบบแขก ชั้นบนสุดเป็นที่ไว้หิ้งพระ  บนตำหนักมีห้องถึงเก้าห้อง แต่ละห้องใหญ่โตมากแบ่งออกเป็นสามปีกด้วยกัน ปีกซ้ายเป็นห้องของเจ้าฟ้าผู้ครองนคร ส่วนห้องโถงใหญ่ตรงปีกกลางนั้น เอาไว้สำหรับออกขุนนางเวลามีงานใหญ่งานโต ทางหลังตึกอีกหนึ่งห้อง เป็นห้องของมหาเทวี ปีกขวาเป็นห้องของเจ้าจอมอีกสามห้อง และห้องมหาดเล็กอีกหนึ่งห้อง ถัดไปทางด้านหลังอีกห้องหนึ่งเป็นห้องคลัง สำหรับเก็บเงินท้องพระคลัง ภายในนั้นนอกจากหอคำหลวงแล้ว ก็มีตำหนักของเจ้าย่า  เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลงสร้างบ้านไว้หลังหนึ่ง สำหรับเจ้านางต่างๆคลอดลูก  เนื่องจากพระองค์ แต่ท่านมีโอรสธิดามากถึง 19 องค์  งจึงสร้างอีกหลังหนึ่งสำหรับเป็นที่คลอดโดยเฉพาะ
.
เจ้าจายหลวงผู้มีพระพักตรอันงดงาม เจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของเชียงตุง เป็นองค์สุดท้ายที่ได้ประทับที่นี่  วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 นายพลเนวิน ได้ยึดอำนาจการปกครองพม่า และได้ดำเนินนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะการยกเลิกระบอบเจ้าฟ้า โดยเจ้าจายหลวงได้ถูกคุมองค์ไปคุมขัง ณ กรุงย่างกุ้ง เป็นเวลา 6 ปี จนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ขณะที่ราชวงศ์องค์อื่นๆและสนมกำนัล มหาดเล็ก  ถูกทหารพม่าสังหารหมู่ ในหอคำหลวงอย่าน่าเศร้าใจ ราชวงศ์ที่รอดชีวิตคือองค์ที่ไปเรียนหนังสือที่ต่างประเทศ หรือได้ชายาที่เชียงใหม่ ลำปางและพำนักอยู่นอกเชียงตุง
.

เรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์เชียงตุง กลายเป็นเรื่องต้องห้าม ไม่ให้ชาวไทยใหญ่ในเชียงตุงกล่าวถึงอีกเป็นอันขาด ในกลางปี 2534รัฐบาลทหารพม่าอ้างว่า ต้องการใช้พื้นที่หอหลวงหลังนี้สร้างโรงแรมไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างความเจริญและสร้างรายได้ให้แก่เชียงตุงจึงเริ่มทุบทำลายหอหลวง ในวันที่ 9 พ.ย. 2534โดยไม่ยอมฟังเสียงคัดค้านจากคณะสงฆ์ไทเขินไทใหญ่ และ ชาวเชียงตุงแม้ว่าในเชียงตุงมีพื้นที่กว้างอยู่อีกมากเพียงพอที่สร้างโรงแรมขนาดใหญ่ได้ก็ตาม
.
รัฐบาลพม่าใช้เวลารื้อทำลายอยู่ 6 เดือน  ต้นปี พ.ศ.2535ได้สร้างโรงแรมเชียงตุง (Kyainge Tong Hotel)อาคารแถวชั้นเดียว ๒ หลัง บังกาโล ๔ หลัง รองรับผู้เข้าพักได้ ๖๐ คนและเมื่อคนเข้าไปเที่ยวมากขึ้นจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบอีกครั้งเป็นโรงแรม นิวเชียงตุง ( New Kyainge Tong Hotel)   
.
พื้นที่โรงแรมนี้ยังคงสภาพความอุดมสมบูรณ์  มีต้นไม้เก่าแก่ขนาดใหญ่อยู่หลายชนิดที่ปลูกไว้ในสมัยสร้างหอคำหลวง อาทิ ต้นพะยอม แต่ก็มีบางสิ่งบางอย่างที่เร้นลับน่ากลัวด้วย  ว่ากันว่าตกดึกๆจะมักได้ยินเสียงกรีดร้องดังไปทั้งบริเวณ บางวันก็จะได้ยินเสียงดนตรีพม่าโบราณโดยไม่ทราบที่มาของเสียง บางรายหนักเห็นคนแต่งตัวแบบเจ้าฟ้า เดินไปเดินมาอยู่บนหลังคายอดตึกของโรงแรม ฝรั่งที่มานอนก็เล่าว่าถูกดึงเท้าให้ตกจากเตียงก็มี  ด้วยการกล่าวขวัญถึงความสยองของสถานที่แห่งนี้  จึงไม่แปลกใจเลย ที่ Kyainge Tong Hotel มาเป็นอันดับหนึ่งของโรงแรมที่ผีดุที่สุดในเอเซีย ( จากwww.dek-d.com/board/view/3382817)
.
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือทางการพม่า สร้างพระยืนปางชี้นิ้วสูง ๒๐ เมตรสูงที่สุดในเชียงตุงและพม่า บนภูพระธาตุจอมสักโดยนิ้วชี้ของพระยืนชี้ตรงมายังหอหลวงอย่างตั้งใจ
.
ความงามของราชวงศ์เชียงตุง
  ราชวงศ์เชียงตุง เป็นที่เล่าขานถึงความงดงาม ทั้งใบหน้า  กริยาจริยาวัตร มีความงดงามสง่า เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ รักษาศีล อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา อย่างมั่นคง จนเป็นที่เคารพรักของชาวไทยใหญ่ทั้งมวลมาตลอด

  เจ้าสุรินทร์ และ เจ้าแสนดา หลานของเจ้าแสนเมือง ที่เกิดและโตในแคนาดาประเทศที่เจ้าเชียงตุงส่วนใหญ่ไปลี้ภัย ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาเป็นเชื้อสายของเจ้าเชียงตุงที่สืบทอดกันมากว่า 800 ปี
  เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง เป็นบุตรของ เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ (พรหมลือ ณ เชียงตุง) กับเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ปัจจุบันอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
.
เปิดประตูเชียงตุง หรือเขมรัฐตุงบุรี (ตอนที่ 2 ) บทความโดย ปิยะนุช นาคคง
.