Daily Mirror

สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า

วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร สถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งเดียวของประเทศไทย ผ่านการประเมิน EdPEx200 รุ่นที่ 10 ของ สปอว.

พระเมธีวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. (หรรษา ธมฺมหาโส) เผยว่า ตามที่ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ : EdPEx200 รุ่นที่ 10 พ.ศ. 2565

วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร สถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งเดียวของประเทศไทย ผ่านการประเมิน EdPEx200 รุ่นที่ 10 ของ สปอว.

พระเมธีวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. (หรรษา ธมฺมหาโส) เผยว่า ตามที่ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ : EdPEx200 รุ่นที่ 10 พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ให้นำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพขององค์การทางการศึกษาและกระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษามีความตระหนักในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 คณะกรรมการตรวจประเมิน EdPEx200 ที่แต่งตั้งโดย สปอว. นำโดย ผศ.เสาวลักษณ์ สุขประเสริฐ ประธานคณะกรรมการ นายกิตติพงษ์ เตมียะประดิษฐ์ กรรมการ และผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันต์สันต์ กรรมการ ได้เดินทางมาตรวจประเมินแบบ Site Visit วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร พร้อมทั้งซักถามบุคลากรเกี่ยวกับการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการเพื่อความเป็นเลิศ (EdPEd) มาปรับใช้ในการบริหารองค์กร

ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะกรรมการได้แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานที่สอดรับกับเกณฑ์ให้บุคลากรของวิทยาลัยได้นำไปปรับใช้พัฒนาองค์กร เพื่อให้มี High Performance ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลต่อการยกระดับให้ IBSC ตอบโจทย์สติ ปัญญาและคุณธรรมแก่สังคมโลกต่อไป

ในการประชุมครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 สปอว. ได้ประกาศผลการตรวจประเมินอย่างเป็นทางการผ่านเวปไซต์ www.edpex.org พบว่า IBSC MCU เป็นหนึ่งใน 21 สถาบันที่ผ่านการประเมิน EdPEx 200 โดยรอบแรกมีสถาบันส่งเข้ารับการประเมิน 144 สถาบัน และผ่านการ Screening 41 สถาบัน
.
เป็นที่น่าสังเกตว่า IBSC เป็นสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ผ่านการประเมินด้วย EdPEx 200 รุ่น 10 และจากนี้ไป IBSC จะยกระดับเพื่อขอรับการประเมิน EdPEx300 และ TQC ในลำดับต่อไป เพื่อความยั่งยืนขององค์กร
.
พระเมธีวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. ในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาจุฬาฯ กล่าวว่า การผ่านการประเมิน EdPEx 200 จะทำให้สามารถช่วยตอบคำถามว่า IBSC จะอยู่ตรงไหนของแผนที่ประเทศไทย และ IBSC จะอยู่ตรงไหนของแผนที่โลก คำถามนี้เป็นการถามถึงตำแหน่ง (Positioning) ของ Brand IBSC หรือยี่ห้อสถาบันการศึกษาที่เรียกว่า IBSC ที่เป็นสถาบันลูกของ MCU หรือมหาจุฬาฯ ที่เพียรพยายามออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเองให้เป็นน่าจดจำของสังคมโลก (Perception) แล้วทำให้สังคมไทยและโลกใบนี้ตอบได้ว่า ทำไมต้องมี IBSC อยู่บนแผนที่ประเทศไทยและโลกใบนี้ (Awareness)
.
การมีอยู่ของ IBSC มิใช่มีเพื่อสักแต่ว่ามี แต่เป็นการมีที่พร้อมจะส่งมอบสมรรถนะหลักที่ตัวเองเชี่ยวชาญให้โลกได้รับคุณค่าด้านสติ ปัญญาและคุณธรรมตามต้องการและความคาดหวังของกฏกระทรวงที่มุ่งให้เป็นสถาบันพัฒนาปัญญาและคุณธรรม การเข้าไปอยู่ในตลาดนัดวิชาการที่มี EdPEx เป็นตัวคัดกรองว่า IBSC เป็นหนึ่งในยี่ห้อที่ถูกจัดวางไว้ในตลาดนัดวิชาการแห่งนี้ ควบคู่กับ Brand ต่างๆ ที่มาจากสถาบันชั้นนำทั้ง มหิดล จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ขอนแก่น สงขลา และเชียงใหม่ฯลฯ ย่อมเป็นโอกาสให้ผู้คนที่มาตลาดนัดแห่งนี้ได้เห็นและรู้จัก IBSC ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และพร้อมจะใช้ประโยชน์จากคุณค่าที่ IBSC มีและเป็น
.
IBSC จะได้ถือจังหวะและโอกาสนี้ นำเสนอสติ สมาธิ ปัญญา และคุณธรรมผ่านการทำ Packgaging ให้สมสมัย และเหมาะแก่การใช้สอยเพื่อดับทุกข์ในเรือนใจ ในขณะที่สถาบันการศึกษาจำนวนมากออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อดับทุกข์ข้างนอกและตอบโจทย์ทางกายภาพ การจัดวางตำแหน่งของ IBSC อยู่ในตลาดนัดหรือแผนที่ประเทศไทยและสังคมโลกจึงมีแง่มุมที่แตกต่างจากสถาบันอื่น การดำรงอยู่ของ IBSC จึงมีในสิ่งที่คนอื่นไม่มี และตอบโจทย์ในสิ่งที่สถาบันอื่นให้ไม่ได้
.
“ทั้งหมดคือความพิเศษของเครื่องมือของ EdPEx ที่ใช้เป็นเกณฑ์พัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศอันเดียวกันของทุกสถาบัน แต่เป็นการนำเกณฑ์ไปปรับใช้ให้สอดรับกับบริบทขององค์กร (OP) ซึ่งต่างจาก IQA ที่มุ่งประกันแบบ One for All อันเป็นการประกันแบบ Checklist ประกันเพื่อประกัน จนมองไม่เห็นจุดเด่นของความแตกต่าง (Differentiation) และขับเคลื่อนคุณค่าที่แตกต่างให้สังคมโลกได้เรียนรู้ และสัมผัสบทเรียน และประสบการณ์ที่แปลกใหม่สอดรับกับบริบทและสมรรถนะหลักขององค์กรนั้น” พระเมธีวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. กล่าว