Daily Mirror
สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า
Daily Mirror
สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า
THG ต้อนรับศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนูส นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เยี่ยมชมความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีและความพร้อมของโรงพยาบาลในประเทศไทย พร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงานสาธารณสุขเพื่อสังคมและการรับมือวิกฤตโรคระบาดโควิด-19
.
นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG เปิดเผยว่า
.
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนูส นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน เดินทางมาเยี่ยมชมความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี และความพร้อมของโรงพยาบาลในประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำทางด้านการแพทย์ลำดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากมีแผนเตรียมสร้างโรงพยาบาลเพื่อสังคมในบังกลาเทศ
“ด้วยศักยภาพและจุดแข็งของโรงพยาบาลเครือ THG ที่กลุ่มผู้ก่อตั้งวางเป้าหมายให้เป็นโรงพยาบาลทางเลือก ที่ประชาชนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึง และเป็นศูนย์รวมแพทย์ชั้นนำที่คงนโยบายให้ความเป็นอิสระทางวิชาชีพแก่แพทย์ มีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์อยู่เสมอ โดยยึดหลักการทำธุรกิจที่สามารถมีส่วนร่วมดูแลยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในมิติต่างๆ ควบคู่กัน จึงน่าจะช่วยเสริมในสิ่งที่ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนูส มองหาได้เป็นอย่างดี” นพ.ธนาธิป กล่าว
นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงานสาธารณสุขเพื่อสังคมและการรับมือวิกฤตโรคระบาด ซึ่งเป็นอีกด้านที่ THG ให้ความสำคัญมาตลอด ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 THG ก็เข้าไปมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมหลากหลายด้าน อาทิ จัดตั้ง ICU สนาม 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม มทบ.11 จำนวน 494 เตียง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 2 จำนวน 168 เตียง โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน จำนวน 177 เตียง สร้างฮอสพิเทล 10 แห่ง รองรับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว เหลืองและแดง รวมกันมากกว่า 4,000 เตียง การร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เปิดศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นต้น
อนึ่ง ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนูส รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่อปี พ.ศ.2549 หลังประสบความสำเร็จในการริเริ่มและพัฒนาแนวคิด “ไมโครเครดิต” หรือ การให้กู้เงินโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันสำหรับผู้ประกอบการ หรือ ชาวบ้านยากจน ทั้งเป็นผู้ก่อตั้ง “กรามีนแบงก์” หรือ ธนาคารเพื่อคนจน โมเดลที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก