ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีนำภาคส่วนร่วมพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2565

วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เนื่องใน “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ประจำปี 2565 เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีนำส่วนราชการ กลุ่มพลังมวลชนในจังหวัดกาญจนบุรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เนื่องใน “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ประจำปี 2565 เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย
.
วันที่ 17 มกราคม 2565 เวลา 08.00 น. ที่ พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติกาญจนบุรี อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2565 พร้อมด้วย นางรชยา ภูมิสวัสดิ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรี, นายกองเอก พงศธร ศิริสาคร, นายชำนาญ ชื่นตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษาและกลุ่มพลังมวลชนในจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เนื่องใน “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2565

ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติกำหนดให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี เป็นวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นวันรัฐพิธี ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ที่สำคัญของปวงชนชาวไทย เนื่องจาก เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงค้นพบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปรากฏเป็นหลักฐานที่สำคัญว่า ชนชาวไทยได้มีศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามมาแต่โบราณกาล จังหวัดกาญจนบุรี จึงได้จัด พิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รำลึกถึงพระองค์ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นนักการทหาร นักปกครอง นักการทูตและนักปราชญ์ที่กล้าหาญชาญฉลาด จะเห็นได้จากวีรกรรมยุทธหัตถีกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด การทรงมีพระเมตตาเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของประชาชนให้มีการประกอบอาชีพอย่างเสรี ทรงยกเลิกจังกอบ ทรงให้กรรมสิทธิ์ที่ดินทำกินแก่ประชาชน ทรงมีนโยบายกระชับมิตรกับดินแดนต่างๆทั้งที่อยู่ใกล้เคียงและห่างไกล และทรงเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงสนับสนุนทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการประดิษฐ์อักษรไทยหรือลายสือไทย ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงความเป็นอารยชน ของอาณาจักรสุโขทัย เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบความเป็นมาของบ้านเมืองและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

รายงานข่าว : โด่ง-น้ำริน กาญจนบุรี