Daily Mirror
สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า
Daily Mirror
สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า
ท่ามกลางข่าว อาลีบาบากรุ๊ป ซื้อกิจการเว็บค้าปลีกดังแห่งอาเซียน อย่าง ลาซาด้า (lazada) สร้างความกังวลว่าจะมีผลกระทบกับธุรกิจ SMEs ไทยในอนาคต เพราะเคยใช้ช่องทางนี้จัดจำหน่าย ถ้า อาลีบาบา ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของ 9 ธุรกิจขนาดใหญ่ของจีน อันได้แก่ Alibaba, Taobao, Tmall, eTao, Alibaba Cloud Computing, Juhuasuan, 1688.com
.
, AliExpress.com และ Alipay ธุรกิจเหล่านี้ประกอบไปด้วยเว็บที่มีจำนวนสินค้านับล้านชิ้น ที่มาพร้อมระบบชำระเงินสมบูรณ์แบบ ก็มีความเป็นไปได้ ที่ อาลีบาบา จะขนกองทัพพ่อค้าแม่ค้าจากจีน เข้ามาขายของได้ทันที เพราะมีฐานลูกค้าไทยครึ่งค่อนประเทศใน Lazada อยู่แล้ว ด้านหนึ่ง ชาวไทยได้ใช้สินค้าในราคาที่ถูกลง เพราะไม่ต้องผ่านคนกลางอีกแล้ว แต่อีกด้านหนึ่งคือ ผู้ประกอบการไทยจะต้องสูญเสียตลาดเหล่านี้ไป เนื่องจากไม่สามารถผลิตสินค้าได้ต้นทุนต่ำพอที่จะทำราคาขายแข่งกับมหาอำนาจอย่างประเทศจีนได้ ทำให้เงินจะไหลออกนอกประเทศมากขึ้น
.
ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจไทย โดยเฉพาะขนาดกลางและย่อม จะต้องรีบปรับตัว โดยเรื่องนี้รัฐบาลไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงเริ่มมีการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจประเภท Start up เพิ่มขึ้น
.
Start up คือธุรกิจเกิดใหม่ที่มีนวัตกรรมหรือแนวคิดที่โดดเด่นสามารถแก้ปัญหาบางอย่างหรือสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งอาจเป็นสินค้า หรือ บริการก็ได้ ในบางครั้ง Start up อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว แต่ยังไม่มีในประเทศไทยก็ได้ ที่สำคัญต้องเป็นสิ่งที่ตลาดต้องการ โดยมาก Start up มักเริ่มจากคนไม่กี่คน และใช้เงินลงทุนน้อย
.
ขั้นตอนของการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ Start up ต้องมีแรงบันดาลใจและพลังมากพอที่ต้องการจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่หมายถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ลูกค้าเคยชิน
.
โดยต้องอาศัยเทคโนโลยี พร้อมกับมีแผนธุรกิจอย่างชัดเจน พอพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้แล้วก็ต้องนำเสนอสู่สาธารณชน เพื่อทดสอบแนวคิดไปจนถึงการระดมทุนเพื่อออกสู่ตลาด ปัจจุบันมีเว็บไซต์อย่าง www.kickstarter.com เป็นสื่อกลางสำหรับคนที่มีไอเดียในการทำธุรกิจดีๆ กับนักลงทุนให้เข้ามาจับมือร่วมกันทำธุรกิจได้
.
ข้อดีของ Startup คือถ้ามีแผนการดำเนินงานและการตลาดเพื่อหารายได้ที่ชัดเจน จะสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ในอดีต บริษัทอย่าง Facebook, Instagram, airbnb หรือ uber ก็ล้วนเคยเป็นบริษัทฯ Start up ขนาดเล็ก มีคนทำงานไม่กี่คนมาก่อน ใช้ทุนดำเนินงานน้อย หากแต่สามารถแก้ไขปัญหาของผู้คนจำนวนมากได้ จึงเกิดการขยายตัวจนกระทั่งใหญ่โตจนถึงทุกวันนี้
.
ตัวอย่าง Start upในประเทศไทย ก็เช่น อุ๊คบี (ookbee) ที่แก้ปัญหาของผู้อ่านหนังสือ แทนที่ต้องพกหลายเล่ม และต้องหาที่เก็บเวลาอ่านเสร็จ ก็แปลงข้อมูลจากกระดาษมาอยู่ในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้พกพาสะดวก ที่สำคัญการซื้อหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จะเสียเงินน้อยกว่าการซื้อในรูปแบบหนังสือจริง ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งรวมอยู่ด้วย สำหรับผู้ผลิตผลงาน การใช้วิธีเผยแพร่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปอยู่บนเซิฟเวอร์ แล้วให้ลูกค้าดาวน์โหลดได้ทันที เป็นการประหยัดค่าพิมพ์และค่ากระจายสินค้า อีกทั้งยังสามารถขายได้ทั่วโลก
.
อีกตัวอย่างหนึ่ง ของการเริ่มต้น Start up คือการจับมือระหว่างหนุ่มนักวิศวะคอมพิวเตอร์ ปริญญาโทจากออสติน เทคซัส กรณ์พงษ์ วีรวัฒน์วราธร ได้เห็นปัญหาที่เจ้าของสินค้าอุตส่าห์ลงทุนลงแรงสร้าง ”แบรนด์” ขึ้นมาแต่พอเริ่มทำกำไร เพราะตลาดเริ่มโต กลับเจอคู่แข่ง ชุบมือเปิป ออกสินค้าปลอม จากการสำรวจพบว่า สินค้าไทย ที่วางจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน เวียดนาม เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ลูกค้าในประเทศเหล่านั้น กังวลที่จะซื้อสินค้าไทย ที่วางขายในประเทศเค้าเองเพราะไม่มั่นใจว่าสินค้าที่ซื้อไป จริงหรือปลอม นั้นแสดงให้เห็นว่า ของปลอมนั้นมีมากขึ้นจนไม่เหลือความไว้วางใจ ปัญหานี้ ส่งผลให้เจ้าของแบรนด์เสียชื่อเสียง เสียรายได้ ลูกค้าเกิดความเสียหายจากการใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน กรณ์พงษ์ จึงมีไอเดียสร้าง ไอเฟคพรูป (iFakeProof) ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเจ้าของแบรนด์เหล่านั้น
.
กรณ์พงษ์ อธิบาย แพลตฟอร์มของ ไอเฟคพรูป ว่ามีความแตกต่างจากระบบการปลอมแปลงสินค้าทั่วไปคือ ระบบถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันสินค้าปลอม โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองอย่างง่าย โดย ไอเฟคพรูป ออกแบบเลขรหัสพิเศษ (crypto code) ที่ไม่ซ้ำกันเพื่อให้เจ้าของแบรนด์นำไปพิมพ์ติดกับสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เมื่อลูกค้าซื้อไปแล้ว สามารถใช้สมาร์ทโฟน ตรวจสอบได้ว่า สินค้านั้น เป็นสินค้าของจริงที่บริษัทฯ ผลิตหรือไม่? ยิ่งกว่านั้น ลูกค้าจะได้รับคะแนนสะสมจากการตรวจสอบ จึงเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจที่จะตรวจสอบทุกครั้งที่ซื้อ ส่งผลให้ ลูกค้ามั่นใจในการบริโภคสินค้า เจ้าของแบรนด์รู้ว่ามีการปลอมแปลงเกิดขึ้นไหมและยังสามารถล่วงรู้ว่าลูกค้าคือใคร อยู่ที่ไหน และซื้อสินค้าไปปริมาณเท่าใด ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ในแง่การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า( CRM) ในอนาคตได้
.
เลขรหัสพิเศษนี้ผ่านการเข้ารหัสโดยใช้พื้นฐานอัลโกลิทึ่ม (Algorithm) มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยสากลว่าไม่สามารถย้อนรอย (Reverse Engineer) เพื่อลอกเลียนแบบเลขรหัสพิเศษที่สร้างขึ้นได้ กรณ์พงษ์นำเสนอไอเดียธุรกิจนี้ ต่อ สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อขอรับเงินทุนในการทำ Startup พร้อมเข้าร่วมโครงการ Creative Innovation Hub อันเป็นโครงการความร่วมมือของธนาคารรัฐ 4 แห่ง ที่ให้ทั้งสถานที่ทำงาน พร้อมคำแนะนำเพื่อบ่มเพาะธุรกิจ และให้กู้ยืมเงินลงทุนแบบไม่มีดอกเบี้ยถึง 5 ปี
.
นอกจากนั้น ไอเฟคพรูป ยังมีแผนที่จะเพิ่มทุน ผ่านนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งทางไอเฟคพรูป อยู่ระหว่างการตัดสินใจเลือกวิธีระดมทุน ซึ่งสามารถทำได้ 3 วิธีคือ ผ่านนักลงทุนแบบ Venture Capital, ผ่านนักลงทุนแบบ Angel, และผ่านนักลงทุนแบบ Crowd funding (ผู้สนใจเรื่องการระดมทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดเตรียมข้อมูลไว้ที่เว็บไซต์ http://new.set.or.th)
.
หากแนวคิดของ กรณ์พงษ์ ถูกพัฒนาเป็นรูปธรรมจนเป็นที่ยอมรับและเป็นต้องการของเจ้าของแบรนด์ ย่อมส่งผลให้ธุรกิจ Start up นี้ เกิดการจ้างงานมากขึ้น เกิดการต่อยอดธุรกิจ สร้างรายได้สู่ประเทศชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่รัฐบาลที่ต้องการผลักดันธุรกิจ Start up ลักษณะนี้ให้เกิดขึ้น
.
หมายเหตุ : ท่านใดสนใจหรือต้องการสนับสนุนธุรกิจ ไอเฟคพรูป หรือวิธีการใช้เทคโนโลยีเพื่อป้องกันการปลอมแปลงตราสินค้า สามารถติดต่อ ได้ที่ chad@IamKornphong.com หรือ Line: chadiphone ได้