Daily Mirror

สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า

เปิดประตูเชียงตุง หรือเขมรัฐตุงคบุรี (ตอนที่ 1)

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสต้องมาเชียงตุงเป็นครั้งที่ 11 แล้ว หลายคนถามว่ามาทำอะไรบ่อยๆ คำตอบคือ... มาทำบุญ มากราบพระครูบาวิมุตโต๋ พระอรหันต์แห่งเชียงตุงที่ช่วยชีวิตคุณแม่ของผู้เขียนไว้ มาทุกครั้งก็มีความสุขทุกครั้ง รถของผู้เขียนขับวนเวียนอยู่บนไหล่เขาเกือบ นับร้อยๆโค้งมุ่งหน้าสู่เชียงตุง มองเห็นธารน้ำใสไหลแรง เซาะก้อนกินกลมๆเลียบถนนยาวนับร้อยกิโลเมตร นาขั้นบันไดยังคงงดงามตื่นตาตื่นใจ

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสต้องมาเชียงตุงเป็นครั้งที่ 11 แล้ว หลายคนถามว่ามาทำอะไรบ่อยๆ คำตอบคือ… มาทำบุญ มากราบพระครูบาวิมุตโต๋ พระอรหันต์แห่งเชียงตุงที่ช่วยชีวิตคุณแม่ของผู้เขียนไว้ มาทุกครั้งก็มีความสุขทุกครั้ง รถของผู้เขียนขับวนเวียนอยู่บนไหล่เขาเกือบ นับร้อยๆโค้งมุ่งหน้าสู่เชียงตุง มองเห็นธารน้ำใสไหลแรง เซาะก้อนกินกลมๆเลียบถนนยาวนับร้อยกิโลเมตร นาขั้นบันไดยังคงงดงามตื่นตาตื่นใจ
.
เมืองเชียงตุง เป็นเมืองคนดีผู้คนรักษาศีล 5 อย่างเหนียวแน่น ไม่มีสถานีตำรวจ เพราะคนไม่ทำผิด ต่างอยู่อย่างสงบร่มเย็น ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ไร่นาอุดมสมบูรณ์ ผู้คนยิ้มแย้มมีความซื่อสัตย์ มีน้ำใจโอบอ้อมอารี ยิ้มแย้มแจ่มใส เหมือนประเทศไทยเมื่อ 50-100 ปีที่แล้ว
.
เมืองเชียงตุงเป็น อยู่ในรัฐฉานของพม่า เป็น “เมืองลูกหลวง” ขึ้นกับอาณาจักรล้านนาและ ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากล้านนา เมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 เชียงตุงยังเป็นส่วนหนึ่งของสยามและเสียให้อังกฤษไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละ แห่งเชียงใหม่ ได้ทรงกอบกู้เชียงใหม่จากพม่า และไล่ตีเมืองต่างเข้าไปจนถึงเมืองเชียงตุงและกวาดต้อนผู้คนเข้ามายังเชียงใหม่ และตั้งภูมิลำเนาในตัวเมืองเชียงใหม่ ในเขตอำเภอเมือง อำเภอสันกำแพง อำเภอสันป่าตอง
.
ชาวไทขึน ช่างที่สร้างเครื่องเขินให้กับสำนักพระราชวังของเชียงตุง ถูกเกณฑ์มาในครั้งนั้น ขุนนางและกลุ่มช่างมีฝีมือ อยู่อาศัยในพื้นที่ระหว่างกำแพงชั้นในและชั้นนอกรอบวัด นันทาราม วัดดาวดึงษ์ วัดธาตุคำ วัดเมืองมาง วัดศรีสุพรรณ ส่วนกลุ่มคนที่เป็นเกษตรกรได้อยู่รอบนอกเวียง เช่น ที่วัดป่างิ้ว วัดสันต้นแหน วัดสันข้าวแคบ วัดสันกลาง วัดสันก้างปลา ในเขตอำเภอสันกำแพง และแถบอำเภอดอยสะเก็ดที่ วัดป่าป้องเป็นชุมชนไทเขินสืบมาถึงปัจจุบัน ส่วนชาวไทยยองที่ถูกเกณฑ์มาอยู่แถวลำพูนก็เป็นช่างทอผ้าที่เก่งที่สุดของกลุ่มไทยใหญ่เช่นกัน
.
ช่วงที่ฝรั่งกำลังล่าเมืองขึ้น แคว้นสิบสองปันนาซึ่งเป็นพวกไทยลื้อ ได้ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน และถูกครอบครองโดยคนสามชาติด้วยกัน เมืองย็อง เมืองแฮ่ เมืองขัน เมืองลื้อ เมืองหลุย ขึ้นกับอังกฤษ แต่ยกให้เชียงตุงปกครอง เมืองเชียงรุ่ง เมืองน้า เมืองลา เมืองหัน นั้นขึ้นกับจีน ส่วนเมืองที่เหลือตกเป็นของฝรั่งเศส
.
เชียงตุงทำไมถึงต้องไปอยู่กับพม่า
สงครามโลกครั้งที่สอง ไทยถูกญี่ปุ่นบังคับให้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ พอดีช่วงนั้นญี่ปุ่นได้เข้าครอบครองพม่า ไทยจึงต้องส่งคนไปปกครองเชียงตุงแทนญี่ปุ่น พอสงครามสงบลง ญี่ปุ่นถอยจากพม่าแล้ว ไทยจึงต้องถอยออกจากเชียงตุงด้วย แล้วหลังจากนั้นอีกไม่นานอังกฤษก็ประกาศปลดปล่อยพม่าเป็นเอกราช แต่ก่อนที่จะปลดปล่อยอังกฤษได้ถามความสมัครใจของชาวเชียงตุงว่าต้องการขึ้น อยู่กับไทยหรือขึ้นอยู่กับพม่า เนื่องจากหมู่ข้าราชการเชียงตุงเห็นว่า ระหว่างที่ไทยไปปกครองเชียงตุงนั้น ทหารไทยไปทำรุงรังกับคนเชียงตุง ถ้าบ้านไหนร่ำรวย ก็ขึ้นปล้นเอาทองคำไป
.
สมเด็จเชฐอัครชายา อาชญาธรรมพระเจ้า สมเด็จพระสังฆราชแห่งนครเชียงตุงองค์ปัจจุบันเล่าให้ผู้เขียนและคณะคนไทยที่ไปกราบท่านว่า สมัยที่จอมพลผิน ชุนหะวัน มาประจำการที่เชียงตุงที่ท่านยังเป็นเณรเล็กๆ มีนายทหารไทยชื่อหลวงวีรวัฒน์โยธิน มายกเอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ขนาดหน้าตัก 18 นิ้ว สูง 21 นิ้ว จากวัดเชียงยืนไป ทั้งที่พระสงฆ์เจ้าอาวาสและคนเชียงตุงขอร้องแล้วขอร้องอีก ว่าอย่าเอาไป ทหารไทยก็ไม่ฟัง ท่านเล่าว่า มีคนนิมนต์เจ้าอาวาสออกไปนอกวัด กลับมาเขาเอาลงลังตอกตะปูไปแล้ว ท่านเข้าไปร้องให้ในกุฎิอยู่นาน และยังมีนายทหารหนุ่มรูปงามตัวสูงใหญ่ นำพระเจ้าฝนแสนห่า ที่เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองไปอีก คนเชียงตุงร่ำให้โศกเศร้ากันอยู่นาน ฝนไม่ตกอยู่หลายปี เศร้าใจกับพฤติกรรมคนไทยที่หักหาญน้ำใจชาวเชียงตุงยิ่งนัก จึงหันไปเลือกขึ้นกับพม่าแทน
.
อังกฤษสามารถครอบครองพม่าได้อย่างเด็ดขาดในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ และเข้ายึดครองและปกครองเชียงตุงได้ในปี ๒๔๓๓
.
เปิดประตูเชียงตุง หรือเขมรัฐตุงคบุรี (ตอนที่ 1) บทความโดย ปิยะนุช นาคคง
.