Daily Mirror

สร้างสรรค์มุมมอง
อย่างรอบด้าน
เห็นมิติที่กว้างกว่า

เปิดประตูเชียงตุง หรือเขมรัฐตุงคบุรี (ตอนที่ 2)

ในกลางปี 2534รัฐบาลทหารพม่าอ้างว่า ต้องการใช้พื้นที่หอหลวงหลังนี้สร้างโรงแรมไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างความเจริญและสร้างรายได้ให้แก่เชียงตุงจึงเริ่มทุบทำลายหอหลวง ในวันที่9 พ.ย. 2534

เรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์เชียงตุง กลายเป็นเรื่องต้องห้าม ไม่ให้ชาวไทยใหญ่ในเชียงตุงกล่าวถึงอีกเป็นอันขาด          
.
ในกลางปี 2534รัฐบาลทหารพม่าอ้างว่า ต้องการใช้พื้นที่หอหลวงหลังนี้สร้างโรงแรมไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างความเจริญและสร้างรายได้ให้แก่เชียงตุงจึงเริ่มทุบทำลายหอหลวง ในวันที่9 พ.ย. 2534โดยไม่ยอมฟังเสียงคัดค้านจากคณะสงฆ์ไทเขินไทใหญ่ และ ชาวเชียงตุงแม้ว่าในเชียงตุงมีพื้นที่กว้างอยู่อีกมากเพียงพอที่สร้างโรงแรมขนาดใหญ่ได้ก็ตาม
.
รัฐบาลพม่าใช้เวลารื้อทำลายอยู่ 6 เดือน  ต้นปี พ.ศ.2535ได้สร้างโรงแรมเชียงตุง (Kyainge Tong Hotel)อาคารแถวชั้นเดียว ๒ หลัง บังกาโล ๔ หลัง รองรับผู้เข้าพักได้ ๖๐ คนและเมื่อคนเข้าไปเที่ยวมากขึ้นจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบอีกครั้งเป็นโรงแรม นิวเชียงตุง ( New Kyainge Tong Hotel)     
.
พื้นที่โรงแรมนี้ยังคงสภาพความอุดมสมบูรณ์  มีต้นไม้เก่าแก่ขนาดใหญ่อยู่หลายชนิดที่ปลูกไว้ในสมัยสร้างหอคำหลวง อาทิ ต้นพะยอม แต่ก็มีบางสิ่งบางอย่างที่เร้นลับน่ากลัวด้วย  ว่ากันว่าตกดึกๆจะมักได้ยินเสียงกรีดร้องดังไปทั้งบริเวณ บางวันก็จะได้ยินเสียงดนตรีพม่าโบราณโดยไม่ทราบที่มาของเสียง บางรายหนักเห็นคนแต่งตัวแบบเจ้าฟ้า เดินไปเดินมาอยู่บนหลังคายอดตึกของโรงแรม ฝรั่งที่มานอนก็เล่าว่าถูกดึงเท้าให้ตกจากเตียงก็มี  ด้วยการกล่าวขวัญถึงความสยองของสถานที่แห่งนี้  จึงไม่แปลกใจเลย ที่ Kyainge Tong Hotel มาเป็นอันดับหนึ่งของโรงแรมที่ผีดุที่สุดในเอเซีย ( จากwww.dek-d.com/board/view/3382817)
.
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือทางการพม่า สร้างพระยืนปางชี้นิ้วสูง ๒๐ เมตรสูงที่สุดในเชียงตุงและพม่า บนภูพระธาตุจอมสักโดยนิ้วชี้ของพระยืนชี้ตรงมายังหอหลวงอย่างตั้งใจ
.
ความงามของราชวงศ์เชียงตุง
.
ราชวงศ์เชียงตุง เป็นที่เล่าขานถึงความงดงาม ทั้งใบหน้า  กริยาจริยาวัตร มีความงดงามสง่า เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ รักษาศีล อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา อย่างมั่นคง จนเป็นที่เคารพรักของชาวไทยใหญ่ทั้งมวลมาตลอด
.
ผู้เขียนมีภาพราชวงศ์ที่ถูกเล่าขานเรื่องความงามมาฝากกัน
เจ้าจายหลวง กษัตริย์องค์สุดท้ายของเชียงตุง
เจ้าชายอินทิรา เจ้านางน้อย
เจ้านางสุคนธา
เจ้าแว่นทิพย์
เจ้าแว่นทิพย์และเจ้าฟ้าขุนศึกศึกเม็งราย พระอนุชา
เจ้านางฟองเเก้ว ณ เชียงตุงเจ้านางอ่องยุ้นถ่ายภาพกับพี่สาวเจ้านางจ่ายุ้น (ชายาเจ้าฟ้ากองไต) 
.
ได้สมรสกับเจ้าขุนเมือง น้องชายเจ้าฟ้ากองไท
มหาเทวีจันทร์แก้ว ของเจ้าจายหลวง กษัตริย์องค์สุดท้ายของเชียงตุง
เจ้าหม่อมคำลือ
.
เจ้าสุรินทร์ และ เจ้าแสนดา หลานของเจ้าแสนเมือง ที่เกิดและโตในแคนาดาประเทศที่เจ้าเชียงตุงส่วนใหญ่ไปลี้ภัย ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาเป็นเชื้อสายของเจ้าเชียงตุงที่สืบทอดกันมากว่า 800 ปี
.
เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง เป็นบุตรของ เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ (พรหมลือ ณ เชียงตุง) กับเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ปัจจุบันอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
.
กู่เจ้าฟ้า
.
กู่ของเจ้าฟ้าเชียงตุงเป็นกู่ที่สร้างขึ้นได้สวยงาม โดยช่างชาวอินเดีย โดยเป็นกู่บรรจุพระบรมอัฐิเฉพาะเจ้าฟ้าที่เป็น ผู้ชายเท่านั้น

กู่องค์แรกเป็นของเจ้ามหาขนาน
ส่วนองค์ที่ 2 เป็นของเจ้ามหาพรหม ลูกชายของเจ้ามหาขนาน
.
กู่องค์ที่ 3เป็นของเจ้าน้อยแก้ว

กู่บรรจุอัฐิองค์ที่ 4 เป็นของเจ้าฟ้าเจียงแข็ง หรือ เจ้ากองไต พระโอรสของเจ้ามหาขนาน
องค์ที่ 5 เป็นของเจ้ากองคำฟู พระโอรสของเจ้ากองไต
.
องค์ที่ 6 เป็นของ เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง พระอนุชาเจ้ากองคำฟู

องค์ที่ 7 เป็นของเจ้ากองไต พระโอรสของ เจ้ารัตนก้อนแก้ว ซึ่งถูกยิงถึงชีวิต
องค์ที่ 8 เจ้าพรหมลือ พระอนุชา เจ้ากองไต
ส่วนองค์สุดท้ายเป็นของ เจ้าจายหลง ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของราชวงศ์มังราย
.
เมือไดที่พวกเราชาวไทยได้มีโอกาสเข้าไปเชียงตุง อย่าลืมแวะกู่เจ้าฟ้าเพื่อถวายพระราชกุศลแด่ราชวงศ์เชียงตุงด้วยนะคะ
.
พระครูบาวิมุตโต๋เป็นใคร ทำไมจึงต้องทำให้คุณและคุณแม่มาเชียงตุงได้บ่อยขนาดนี้ ติดตามกันในฉบับหน้านะคะ
.
อ้างอิง
.
*อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง
*งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง ๒๗ มกราคม ๒๕๓๓.9
*หนังสือความทรงจำที่เมืองเชียงตุงของเจ้านางสุคันธา อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๖)
*สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์ ๒๕๓๙ หน้า ๑

[ngg_images source=”galleries” container_ids=”634″ display_type=”photocrati-nextgen_basic_thumbnails” override_thumbnail_settings=”0″ thumbnail_width=”240″ thumbnail_height=”160″ thumbnail_crop=”1″ images_per_page=”20″ number_of_columns=”0″ ajax_pagination=”0″ show_all_in_lightbox=”0″ use_imagebrowser_effect=”0″ show_slideshow_link=”1″ slideshow_link_text=”[Show slideshow]” order_by=”sortorder” order_direction=”ASC” returns=”included” maximum_entity_count=”500″]