ของจิ๋วเล่าขานงานวัฒนธรรม

เรียนตอนบ่าย เธอจะเดินไปพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สองตาจับจ้องอยู่ที่ตู้ของจิ๋วของ เจ้าจอมมารดาเรียม ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เนิ่นนาน........... นับชั่วโมง .....เจ้าหม้อใบเล็กๆช่างน่ารัก ตะกร้าใบจิ๋วช่างน่าเอ็นดู เจ้าประคุณเอ๋ย

นานมาแล้ว…….เด็กหญิงตัวเล็กๆ ไร้พี่น้อง ลูกแม่ค้าขายขนมที่ตลาดบางลำพู อาศัยพิพิธภัณฑ์เป็นเพื่อนแก้เหงา เลิก
เรียนตอนบ่าย เธอจะเดินไปพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สองตาจับจ้องอยู่ที่ตู้ของจิ๋วของ เจ้าจอมมารดาเรียม ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เนิ่นนาน……….. นับชั่วโมง …..เจ้าหม้อใบเล็กๆช่างน่ารัก ตะกร้าใบจิ๋วช่างน่าเอ็นดู เจ้าประคุณเอ๋ย …น้องตัวเล็กๆทั้งหลาย…สักวันหนึ่งเถอะ……ฉันจะได้จับ และ เล่นมันให้สนุก
.
ใครเลยจะคาดคิดว่า เด็กหญิงตัวน้อยคนนั้น จะกลายมาเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของประเทศ ผู้ที่รังสรรค์งานของจิ๋ว สามารถสร้างรายได้ให้ผู้คนปีละไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท สูตรการผสมแป้งขนมปัง กับกาว และโลชั่น เป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ ให้ผู้คนเอามา ทำขนมจิ๋ว ดอกไม้ ต้นไม้ อาหารจิ๋วขายกันสนั่นเมือง ท่านชื่อ อ.ดรุณีนาถ นาคคง
.
จากการที่ท่านเป็นครูอาสาสมัครที่ดินแดง ในสมัยที่ยังเป็นสลัมและที่ทิ้งขยะของกรุงเทพมหานคร

ท่านได้นำขยะมาทำให้เกิดเป็นงานศิลปะได้อย่างน่าอัศจรรย์ ถุงขยะ หลอดกาแฟ กลายมาเป็นดอกไม้หลากหลายชนิด ขวดพลาสติกมาเป็นปลาแหวกว่ายกับสายลม ทุกวันเธอ ตำ ผสม สูตรต่างๆกับวัตถุสารพัน ทุกวันเธอคิด เธอจินตนาการ ให้เกิดเป็นศิลปะ ความรู้ทั้งหมดที่เธอคิดทดลอง บอกสอนลูกศิษย์ไม่เคยปิดบัง
.
สมเด็จพระนางเจ้าพระรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชุมชนดินแดง  เมื่อได้ทอดพระเนตรงานศิลปะจากขยะ ทรงให้ความสนพระทัยอย่างยิ่ง และนำอาจารย์ดรุณีนาถเข้าไปถวายการสอนพระราชโอรสพระราชธิดาขณะทรงศึกษาอยู่ในโรงเรียนจิตรลดา

ตลอดชีวิตของท่านได้เก็บเกี่ยวความรู้ภูมิปัญญาจากพิพิธภัณฑ์ และการเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เก็บเป็นรูปธรรมโดยการย่อส่วนให้เล็กลงเพื่อการจัดเก็บ เริ่มต้นด้วยขนมไทยทั้งขนมชาววัง ขนมชาวบ้าน ขนมในพิธีกรรม ขนมในฤดูกาล ขนมอบแห้ง รวมแล้วกว่า 400 ชนิด จากทั้งหมด 1,700 ชนิด ท่านยืนยันว่า เมืองไทยเป็นประเทศที่มีขนมมากที่สุดในโลกและสวยที่สุดในโลกด้วย และท่านยังปั้น ของเปรี๊ยวทุกชนิด ชมพู่ทุกชนิด กล้วยทุกชนิด มะม่วงทุกชนิด ที่ปั้นไว้มากที่สุดคือมะเขือ ซึ่งเป็นราชินีของผัก ท่านปั้นไว้มากถึง 600 ชนิด

.
งานสร้างสรรค์ของอาจารย์ดรุณีนาถ นาคคง ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของวงการศิลปะจนพัฒนาไปสู่งานอุตสหกรรมศิลป์ สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไทยปีละหลายร้อยล้านบาท จนได้รับรางวัลในระดับชาติมากมาย รับพระราชทานรางวัลอีกหลายครั้ง รวมถึงรางวัลในระดับนานาชาติด้วย ท่านได้สืบทอดวิธีของจิ๋วไปให้บุตรสาว 2 คนคือ ปิยะนุช และ นวลอนงค์ นาคคง ทำให้คุณปิยะนุชต่อยอดงานของจิ๋วไปอีกมาก โดยจัดตั้งชมรมของจิ๋ว จัดการแข่งขันของจิ๋วชิงชนะเลิศประเทศไทยและจัดงาน มหกรรมของจิ๋ว งานคนรักของจิ๋ว งานอัศจรรย์ของจิ๋ว งานคืดถึงของจิ๋ว กลายมาเป็นนักสะสมและนักประดิษฐ์ของจิ๋ว ที่ผู้คนยกให้เป็นสัญลักษณ์แห่งของจิ๋วเมืองไทย
ปิยะนุช นาคคง ได้รวบรวมงานประดิษฐ์ของมารดาและของแชมป์ประเทศไทยในแต่ละปี จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ของจิ๋ว ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุดของโลก สามารถเคลื่อนย้ายได้ ในพิพิธภัณฑ์ของจิ๋วบันทึกเรื่องราวทางวัฒนธรรมไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษามากมาย ทั้งเครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาร บ้านเรือนไทย อาหารสี่ภาค งานปราณีตศิลป์สารพัด รวมแล้วประมาณ 70 ตู้
.
สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี พระเมตตาเสด็จทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ของจิ๋วถึง
3 ครั้ง โดยรับสั่งว่า พิพิธภัณฑ์นี้มีขนาดเล็กการคลื่อนที่ไปจะเป็นประโยชน์กับเด็กๆมาก
ปิยะนุช จึงตัดสินใจจัดทำโครงการพิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร พาครอบครัวมหานครสู่พิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กจิ๋วที่เดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อเล่าขานเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ทีรอคอยการเยี่ยมเยื่อนของประชาชน โดยการสนับสนุนของ สสส.
.
พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจรไปก็เก็บข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ตามเส้นทางต่างๆไปด้วยจนในที่สุดก็รวบรวมได้มากถึง 1,221 แห่งทั่วประเทศ ทำให้ทราบว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่มีพิพิธภัณฑ์มากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก แต่ก็น่าแปลกใจที่ คนไทยไม่รู้เรื่องราวเหล่านี้เลย www.happyfamilyday.com ของมูลนิธิเพื่อพิพิธภัณฑ์ไทย รวบรวมแหล่งข้อมูลพิพิธภัณฑ์ไทย จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ต่างๆ โดยการแบ่งแยกกลุ่มพิพิธภัณฑ์ตามความสนใจของครอบครัว บอกวิธีการเดินทางโดยทางรถขสมก. รถไฟใต้ดิน MRT รถไฟฟ้า BTS  และเรือด่วนเจ้าพระยาไว้ด้วยกัน
.
ในปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ของจิ๋ว กำลังตั้งแสดงอยู่ที่ ชั้น 2 และชั้นที่ 3 ตึกแกรนด์ไชน่า บริเวณสี่แยกราชวงศ์ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร นอกจากท่านผู้อ่านจะได้ชมเรื่องราวทางวัฒนธรรมผ่านโลกใบจิ๋วๆแล้ว ยังมีป้ายนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์อีก 50 แห่งตั้งแสดงไว้ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของแหล่งเรียนรู้ใกล้บ้านของท่านผู้อ่านด้วยนะคะ
.
ปิยะนุช นาคคง

[ngg_images source=”galleries” container_ids=”632″ display_type=”photocrati-nextgen_basic_thumbnails” override_thumbnail_settings=”0″ thumbnail_width=”240″ thumbnail_height=”160″ thumbnail_crop=”1″ images_per_page=”20″ number_of_columns=”0″ ajax_pagination=”0″ show_all_in_lightbox=”0″ use_imagebrowser_effect=”0″ show_slideshow_link=”1″ slideshow_link_text=”[Show slideshow]” order_by=”sortorder” order_direction=”ASC” returns=”included” maximum_entity_count=”500″]