เผยสาระสำคัญ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ….
.
มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 11 ม.ค.65 ได้ผ่านความเห็นชอบและรับทราบ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
.
1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
.
2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ
.
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนโดยกำหนดให้มีองค์กรสภาวิชาชีพ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชน (ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมสื่อมวลชนตามมาตรา 35 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งการใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งเสนอข่าวนั้นจะต้องปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชนด้วย เช่น การเสนอข้อเท็จจริงด้วยความถูกต้อง ครบถ้วนรอบด้าน และเป็นธรรม การให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลซึ่งได้รับผลกระทบจากการเสนอข่าว หรือการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ซึ่งหากปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชนแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง) ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชนที่ไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชน (ปัจจุบันวิชาชีพสื่อมวลชนยังไม่มีสภาวิชาชีพที่จัดตั้งตามกฎหมาย แต่วิชาชีพอื่น ๆ ได้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพ
.
ตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เช่น สภาทนายความ และสภาวิชาชีพนักบัญชี เป็นต้น) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวและกรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (9 กุมภาพันธ์ 2564) โดยพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในภาพรวมแล้ว
.
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
.
1. กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมสื่อมวลชน แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น
.
2. กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีสิทธิปฏิเสธการปฏิบัติตามคำสั่งใดที่จะมีผลให้เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมสื่อมวลชนโดยมิให้ถือว่าเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่การใช้สิทธิดังกล่าวต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ด้วย
.
3. กำหนดให้มี “สภาวิชาชีพสื่อมวลชน” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน และกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาจริยธรรมสื่อมวลชนและมาตรฐานวิชาชีพ และให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
.
4. กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีหน้าที่และอำนาจจดแจ้งองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ส่งเสริมการคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อมวลชน ติดตามดูแลการทำหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน องค์กรสื่อมวลชน องค์กรวิชาชีพ และองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ให้เป็นไปตามจริยธรรมสื่อมวลชน และให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่ภาคส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นต้น
.
5. กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีรายได้จากเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม เช่น เงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่าย เป็นต้น ทั้งนี้ ให้มีการจัดสรรเงินของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้แก่สภาฯ เป็นรายปี ไม่น้อยกว่าปีละ 25 ล้านบาท
.
6. กำหนดให้มี “คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน” ประกอบด้วย กรรมการผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน จำนวน 5 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งสรรหาจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านวิชาการสื่อสารมวลชน กฎหมายสิทธิมนุษยชนหรือการคุ้มครองผู้บริโภค และกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
.
7. กำหนดให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนมีหน้าที่และอำนาจบริหารกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสื่อมวลชนของสภาซึ่งเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล และพิจารณาการขอจดแจ้งและเพิกถอนการจดแจ้งขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นต้น
.
8. กำหนดให้มี “สำนักงานสภาวิชาชีพสื่อมวลชน” มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาวิชาชีพสื่อมวลชน และคณะกรรมการจริยธรรม รวมทั้งจัดทำงบดุล การเงิน และบัญชีทำการของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนส่งผู้สอบบัญชีภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ตลอดจนจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน
.
9. กำหนดให้สภาวิชาชีพสื่อมวลชนกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสื่อมวลชน โดยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับจริยธรรมอย่างน้อยเกี่ยวกับการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และมาตรการที่จะดำเนินการในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนหรือองค์กรสื่อมวลชนเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นโดยฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามจริยธรรมสื่อมวลชน
Related Posts
งานแถลงข่าว S&P ร่วมกับ สอศ. จัดการแข่งขันสุดยอดฝีมืออาหารไทย”
เอส แอนด์ พี ร่วมกับ สอศ. จัดการแข่งขันสุดยอดฝีมืออาหารไทย (ระดับประเทศ) เฟ้นหาสุดยอดฝีมือดี ด้านการทำอาหารไทย เพื่อสนับสนุนกำลังคน ระดับอาชีวศึกษา สู่ตลาดแรงงานระดับสากล
Content Writer
มิถุนายน 2, 2023“จอย บียอนด์” ชวน ”ยิ่งยง” และศิลปินลูกทุ่ง ร่วมแบ่งรัก ปันสุข ในวันคล้ายวันเกิด
นักร้องลูกทุ่งสาวสวย สุดเว่อร์วังอลังการอย่าง “จอย บียอนด์” ที่เพิ่งปล่อยซิงเกิ้ลสนุกเซี้ยวอย่าง “ตื่นมาก็โสด” และ “เสียวหู” ไปได้ไม่นาน ถือโอกาสในวันคล้ายวันเกิดที่จะมาถึง ชวนพลพรรคชาวลูกทุ่ง
Content Writer
พฤษภาคม 31, 2023สมาคมช่างผมเสริมสวยแห่งประเทศไทย และสมาชิกพี่น้องช่างผมเสริมสวย จิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมตัดผมให้ผู้ป่วยทหารผ่านศึก ที่รักษาตัวและเจ้าหน้าที่
สมาคมช่างผมเสริมสวยแห่งประเทศไทย และสมาชิกพี่น้องช่างผมเสริมสวย จิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมตัดผมให้ผู้ป่วยทหารผ่านศึก ที่รักษาตัวและเจ้าหน้าที่ ณ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก